การปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามด้วยตัวของมันเอง ในสถานประกอบการณ์นั้น การตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับการจ้างงานพึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพในการทำงานโดยระบบ คุณธรรม การปฏิบัติไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นเมื่อการตัดสินใจไปอิงเกณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการทำงาน เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศหญิงชาย หรือภูมิลำเนาเดิม
ในต้นศตวรรษที่ 21 มีพลังสำคัญที่นำไปสู่การปรับโครงสร้างองค์กรอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก องค์กรเริ่มพบว่าหากต้องการจะประสบความสำเร็จในสภาพตลาดที่มีการแข่งขันสูง นั้น จะบริหารจัดการธุรกิจหรือราชการแบบเดิมนั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว องค์กรจะต้องปรับตัวตอบสนองความต้องการของตลาดหรือสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีวิธีใหม่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรที่มีอยู่ บีบให้บริษัทต้องปรับตัวยืดหยุ่นในการจัดสรรและใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ มากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถกระจายกำลังคนไปทำงานในแผนกต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทำงานร่วมกับแผนกอื่น องค์กรอื่นหรือจัดเป็นทีมงานในระดับชาติ รูปแบบการทำงานเช่นนี้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ของตลาดและการผลิตในยุค ใหม่ต้องอาศัยคนจากหลายๆภูมิหลังทำงานร่วมกัน
ขณะเดียวกันประชากรกำลังแรงงานก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้องค์กรต้องทบทวนความเชื่อและนโยบายที่เคยใช้ในอดีตเกี่ยวกับบุคลากร ด้วย การที่องค์กรต้องการคนทำงานเป็นทีมมากขึ้นและประชากรกำลังแรงงานที่เปลี่ยน แปลงไปนั้นทำให้พนักงานในบริษัทมีความหลากหลายมากขึ้น (ทั้งในด้านสัดส่วนของหญิงชาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา ภูมิลำเนาเดิม อายุ สภาพความพิการ (รวมทั้งการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วย) และอื่นๆ) และต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นแม้ว่าขณะนี้จะมีกฎหมายและสถานประกอบการด้วยกัน ดึงให้บริษัทต้องปฏิบัติกับพนักงานของตนให้เท่าเทียมกันมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มากเท่าที่ควร จำเป็นที่บริษัทต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและแนวปฏิบัติในองค์กรเพื่อให้สอด คล้องรับนโยบายการจ้างงาน รักษาพนักงานและเลื่อนตำแหน่งมากขึ้น
การเลือกปฏิบัติรูปแบบต่างๆ ยังเป็นปัญหาแทบทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะในการจ้างงานและเลือกอาชีพ "การเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ" หมายถึงวิธีใดก็ตามที่ทำให้คนบางคนต้องตกอยู่ในสภาพด้อยหรือเสียเปรียบใน ตลาดแรงงานหรือในสถานประกอบการเนื่องจากอคติเกี่ยวกับเพศ อายุ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ภูมิลำเนาเดิม สถานภาพเดิมทางสังคมหรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำ
การเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ การตั้งใจเลือกปฏิบัติโดยตรงเช่นจงใจชี้ให้เห็นความแตกต่าง จงใจเลือกหรือไม่เลือกโดยอ้างเหตุผลนานา เช่น โฆษณาที่ระบุ "รับเฉพาะผู้ชาย" ก็ถือเป็นการจงใจเลือกปฏิบัติโดยตรง ส่วนการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมหมายถึงมีสถานการณ์ มาตรการหรือแนวปฏิบัติที่ดูผิวเผินก็ดูเป็นกลางดี แต่มีผลในทางลบต่อบางคนหรือบางกลุ่ม การเลือกปฏิบัติโดยอ้อมนี้มักแฝงมา จึงยากที่จะจัดการ
การไม่เลือกปฏิบัติมีหลักการเบื้องต้นคือต้องปฏิบัติต่อคนทุกคนทัดเทียมกันไม่ ว่าคนผู้นั้นจะเป็นคนอย่างไรมาจากไหนตราบใดที่สามารถทำงานให้กับองค์กรได้ การให้โอกาสและปฏิบัติต่อคนอย่างเสมอภาคทำให้คนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้อย่างเต็มภาคภูมิ มีโอกาสหางานทำทัดเทียมผู้อื่นและมีสภาพทำงานดีทัดเทียมกัน
แต่การหยุดเลือกปฏิบัติเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้การเลือกปฏิบัติหมดไปจาก ระบบการจ้างงานและอาชีพได้ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้คนมีโอกาสเสมอภาคและปฏิบัติต่อคนทัดเทียมกันใน สถานประกอบการในทุกระดับ ตั้งแต่การสรรหา การรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัท การเลื่อนตำแหน่งและการเลือกจ้างงาน การให้ค่าตอบแทน โอกาสการเข้ารับฝึกอบรมวิชาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือ เนื่องจากโครงการรับพนักงานจากหลากหลายกลุ่มนี้ให้ความสำคัญต่อภูมิหลังของ พนักงานที่แตกต่างกัน ต้องหาคนทำงานที่มีความรู้ความสามารถจากวัฒนธรรมต่างๆ และทุกกลุ่มประชากร จำทำให้ความเสมอภาคเป็นหัวใจของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้น การจัดการพนักงานจากหลากหลายภูมิหลังโดยไม่เลือกปฏิบัตินั้นกำลังเป็น เครื่องมือการบริหารอย่างดีในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพขององค์กรมาก ขึ้นทุกที
นโยบายจัดการกำลังแรงงานจากหลากหลายภูมิหลังก็เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ให้โอกาส พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การอย่างเต็มที่ตลอดจนมีโอกาสก้าวหน้า เลื่อนตำแหน่งตามผลงานความสามารถ ซึ่งทำให้องค์การและสภาพการทำงานดียิ่งขึ้น การจ้างงานสตรี ผู้มีอายุและชนกลุ่มน้อยเพียงประการเดียวยังไม่เป็นหลักประกันว่าการจัดการ กำลังแรงงานหลากหลายจะประสบความสำเร็จได้ด้วยดี พนักงานจะอยู่ทำงานกับองค์การได้นานและทำงานได้อย่างเต็มกำลังนั้นขึ้นอยู่ ว่าองค์การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไรด้วย รวมทั้งโอกาสความก้าวหน้า การฝึกอบรมและความพอใจในอาชีพงาน การที่บริษัทต้องการพัฒนาทักษะฝีมือพนักงาน ให้พนักงานซื่อสัตย์กับองค์การและมีสัมพันธ์อันดีที่เกื้อหนุนกันระหว่าง พนักงานกับบริษัทนั้นจึงนับเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง แต่เป็นการลงทุนด้านบุคลากร
แม้จะเป็นที่ยอมรับกันว่าความเสมอภาคในสถานประกอบการมีส่วนทำให้บริษัทมีผล ประการดีขึ้นแต่ก็ยังไม่มีการศึกษาและรวบรวมหลักฐานมากเพียงพอที่จะพิสูจน์ ว่าการไม่เลือกปฏิบัติการจ้างงานทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นอย่างไร
ILO ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากและมีโครงการศึกษาวิจัยหลายโครงการ เป็นต้นว่ามีนโยบาย (ILO, 2000) เน้น "...ให้มีการศึกษาวิจัยตัวแปรแทรกซ้อนที่กำหนดความเชื่อมโยงระหว่าง...ความเสมอภาคกับผลประกอบการทางเศรษฐกิจ" ผลจากงานวิจัยในเบื้องต้นในปี 2000 แสดงผลของการจ้างงานที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติว่ามีผลต่อผลิตภาพและผลประกอบการของบริษัทดังนี้
•การให้โอกาสเสมอภาคทำให้ผลิตภาพสูงขึ้น
•บริษัทที่มีพนักงานที่เคยเป็นผู้ถูกเลือกปฏิบัติเป็นพนักงานกลุ่มใหญ่ การให้โอกาสเสมอภาคทำให้ผลิตภาพของบริษัทสูงขึ้น
•บริษัทที่มีนโยบายให้ความเสมอภาคอย่างจริงจังมีผลดีต่อผลิตภาพของบริษัท
โดยผลงานวิจัยนี้บ่งว่านโยบายไม่เลือกปฏิบัติและสามารถทำได้จริงมีผลต่อศักยภาพองค์การหลายประการ คือ
•การจัดกำลังงานลงสู่ตำแหน่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเพิ่มคุณภาพของทุนมนุษย์และขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอีกโสตหนึ่ง
•จัดคนลงกับงานได้อย่างเหมาะสม การเลือกคนลงตำแหน่งงานมีเกณฑ์ที่เป็นกลางและเป็นระบบมากขึ้น
•สมาชิกของกลุ่มที่เคยถูกเลือกปฏิบัติมีกำลังทำงานมากขึ้นเพราะ
- มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น
- พนักงานมีความรู้สึกว่าบริษัทมีความยุติธรรม
- ได้งานที่มีความหมายมากขึ้นและมีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์
• พนักงานลาออกน้อยลง (โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยถูกเลือกปฏิบัติ)
• บรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงานเครียดน้อยลง ทำให้พนักงานมีสุขภาพดีขึ้น มีขวัญและกำลังใจและรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
มีหลักฐานชี้บ่งชัดเจนว่าเมื่อบริษัทมีนโยบายโอกาสการจ้างงานอย่างเสมอภาค (equal employment opportunity: EEO) ร่วมกับการให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น ผลิตภาพของบริษัทจะสูงขึ้นอีกด้วย
ที่มาเรียบเรียงจาก:
Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You (Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)
Tuesday, November 23, 2010
เรื่องที่ได้รับความนิยม
-
ดาวน์โหลดฟรี วารสารคนทำงาน มิถุนายน 2567 ในฉบับพบกับ .. ผลศึกษาพบ 'ทำงานกะกลางคืน' ทำให้ร่างกายเกิดปัญหาในเวลาเพียง 3 วัน [หน้า 13] ...
-
มติ 'ก.จ.-ก.ท.-ก.อบต.' ไฟเขียว 'เลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ' ให้แก่บุคลากรของ อปท.ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์กา...
-
ตัวแทนลูกจ้างทำงานฟาร์มในประเทศออสเตรเลียเปิดใจเล่าชีวิตในมุมมืด ถูกเอาเปรียบทั้งค่าแรงและความเป็นอยู่ พบการเลือกปฏิบัติ-คุกคามทางเพศ ยื่นเร...
-
ดาวน์โหลดฟรี วารสารคนทำงาน เมษายน 2566 ในฉบับพบกับ .. คนอเมริกันคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่พวกเขาทำอย่างไรบ้าง [หน้า 18] "ฉันเอาชนะการเลือกป...
-
ช่วงเดือน พ.ค. 2564 จากกรณี สถานการณ์ COVID-19 ใน จ.สมุทรปราการ กับ คลัสเตอร์สมุทรปราการ ในโรงงาน อ.พระสมุทรเจดีย์ พบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 16...
-
ดาวน์โหลดฟรี วารสารคนทำงาน เมษายน 2565 ในฉบับพบกับ .. ผลการศึกษาชี้บุคลากรทางการแพทย์ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ในที่ทำงาน...
-
ดาวน์โหลดฟรี วารสารคนทำงาน มีนาคม 2566 ในฉบับพบกับ .. เหตุใด ‘มลพิษทางอากาศ’ จึงเป็นปัญหาสำคัญในที่ทำงาน [หน้า 11] งานศึกษาพบความเชื่อมโยง ‘...
-
กรมชลประทานจัดงบ 5.6 พันล้าน จ้างเกษตรกร-คนตกงานจากโควิด 9.4 หมื่นคน 31 ม.ค. 2564 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าเพื...
-
ดาวน์โหลดฟรี วารสารคนทำงาน กันยายน 2566 ในฉบับพบกับ .. งานศึกษาชี้ 'คนสมัครงาน' เผชิญกับอคติ เมื่อโพสต์ปัญหาสุขภาพจิตในโซเชียลมีเดีย...
-
ดาวน์โหลดฟรี วารสารคนทำงาน ตุลาคม 2566 ในฉบับพบกับ .. 10 ปี การต่อสู้ ‘แรงงานสันกำแพง’ หลังถูก ‘ทุนข้ามชาติ’ ละเมิดสิทธิพวกเขา [หน้า 12] งาน...